ผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน ภูมิปัญญาจักสานของชาวใต้ฝั่งตะวันตก



ต้นเตยปาหนันชอบขึ้นตามริมหาด ชายทะเล ป่าโกงกาง ลักษณะลำต้นเป็นกอ และแตกกิ่งใบยาวเป็นพุ่ม ขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามอายุและสภาพดิน สูงประมาณ 5 เมตร การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน พื้นเมืองที่ทำกันมาแต่โบราณ และมีทั่วไปในทุกภาคของประเทศ คำว่า เครื่องจักสาน นั้น โดยทั่วไปมักจะหมายถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นด้วยมือ โดยวิธี จัก สาน ถัก และทอ เป็นหลัก การเรียกเครื่องจักสาน ว่า จักสานนั้น เข้าใจว่าเป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสานขึ้น นั่นเอง เพราะเครื่องจักสานต่างๆ จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ประกอบขึ้นด้วยการจัก การสาน และการถัก หรือการขัดกันของวัสดุที่ผ่านกระบวนการเตรียมด้วยการจัก เพื่อแปรรูปวัสดุ หรือวัตถุดิบให้สอดคล้องกับการใช้สอยเสียก่อน


เครื่องจักสานจากเตยปาหนัน
เครื่องจักสานของภาคใต้ทางด้านชายฝั่งตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ถือได้ว่าเป็นเครื่องจักสานเฉพาะถิ่น มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองอยู่บ้าง ได้แก่ พวกเครื่องจักสานที่สานด้วยใบเตย ใบลำเจียก หรือปาหนัน ซึ่งส่วนมากนิยมสานเสื่อ สอบ หรือกระสอบสำหรับใส่ข้าว หรือใส่พืชผลต่างๆ มีการสานไว้ใช้ในครัวเรือน
         การสานเสื่อปาหนัน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความประสานกลมกลืนกับประเพณีนิยมของท้องถิ่นและวิธีการสาน ตลอดจนการใช้วัสดุในท้องถิ่นที่ต่างจากเครื่องจักสาน อื่นๆ มีการสืบทอดภูมิปัญญาการสานมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน และเรียนรู้กันภายในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิยมใช้เสื่อในการปูนอน และนำไปรองนั่งที่สุเหร่า และใช้เป็นเสื่อปูนอนของคู่บ่าวสาว ที่จะแต่งงานใหม่ โดยคู่บ่าวสาวจะต้องช่วยกันสานไว้หลายๆ ผืน เพื่อใช้รองแทนที่นอนในสมัยโบราณ และปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ จึงได้คิดพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป็นสินค้าของฝากประจำจังหวัดที่มีชื่อเสียงที่สวยงาม ทนทาน ได้แก่ เสื่อปาหนัน หมอน กระเป๋า ซองบุหรี่ หมุกใส่ของเครื่องใช้สอย เป็นต้น


กลุ่มจักสานเตยปาหนันบ้านดุหุน โอทอป ระดับ 3 ดาว มีนางจันทร์เพ็ญ ปูเงิน ทำหน้าที่ผู้จัดการกลุ่ม  การทำเครื่องจักสาน เป็นภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษชาวอินโดนีเซีย ที่มาตั้งรกรากในประเทศไทยทางตอนล่าง ตั้งแต่นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล กระบี่ และตรัง สินค้าที่ผลิตในปัจจุบัน เช่น กล่องแว่น กล่องเนกไท กล่องอเนกประสงค์ กระจกหกมุม กระจกแปดมุม กระเป๋ารูปแบบต่างๆ ซองนามบัตร แฟ้มงาน กระเป๋าใส่เอกสาร หมวก ซองโทรศัพท์มือถือ และยังมีการผลิตชิ้นงานบางอย่างที่เรียกว่า สาดหรือเสื่อ จะผลิตขนาด 80เซนติเมตร คูณ 100 เซนติเมตร เป็นชิ้นงานที่ลูกค้าสั่งซื้อเข้ามามาก ผู้ซื้อจะนำไปตัดเย็บเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เช่น ตัดเย็บเป็นรองเท้าแตะเตยปาหนันสวมใส่ในบ้าน รีสอร์ท โรงแรม และสำนักงาน

            วัตถุดิบคือ ต้นเตยปาหนัน จะมีขึ้นในพื้นที่ชายทะเล คุณสมบัติมีความเหนียวนุ่ม ทนทาน ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ในการจักสานมีลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แรงงานที่มาทำงานกลุ่มจะเป็นกลุ่มสตรีที่เป็นชาวไทยมุสลิม มีสมาชิกประมาณ 40 คน อายุมากสุด 81 ปี แต่ละเดือนทุกคนจะมีรายได้ 3,500-4,000 บาท มีการตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และสถาบันการเงินทุนชุมชน

             การทำงานอย่างทุ่มเท รักษามาตรฐานการผลิต ได้รับรางวัลที่น่าภูมิใจ 4 รางวัล 1.มผช.57/546 2.OTOP คัดสรร 3 ดาว 3.กลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP ดีเด่นระดับจังหวัด และ 4.รางวัลที่ 1 การประกวดสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด


              หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดตรัง ยังเข้มแข็งหากรัฐบาลยังสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ในชุมชน นำไปสู่ ตรังเมืองแห่งความสุข  ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง มีนโยบาย ตรังเมืองแห่งความสุข  ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นให้สินค้า OTOP ตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้ง นับเป็นโอกาสดีที่จะพัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยว OTOP  นำสินค้าดีๆ จากชุมชนออกสู่ตลาดอีกครั้ง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง


เตยปาหนัน เป็นพืชตระกูลปาล์ม บางคนรู้จักชื่อทั่วไปว่า ต้นลำเจียก จะชอบขึ้นตามริมหาด ชายทะเล ป่าโกงกาง ลักษณะลำต้นเป็นกอ และแตกกิ่งใบยาว เป็นพุ่ม ขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามอายุและสภาพดิน สูงประมาณ 5 เมตร  ใบเตยปาหนัน จะมีสีเขียวยาว มีรูปพรรณคล้ายกับใบเตยหอม ต่างกันที่ใบเตยปาหนันนั้น จะมีหนามริมใบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านข้าง 2 ด้านและตรงกลางหลัง นำมาแปรสภาพเป็นตอก ใช้สานเป็นภาชนะต่างๆ ได้
ต้นลำเจียก หรือปาหนัน เป็นวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องจักสานเฉพาะถิ่นของภาคใต้ มาแต่โบราณ โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลอันดามัน นิยมนำมาสานเป็นเสื่อ สานเป็นกระสอบ และภาชนะอื่นๆ การสานเสื่อปาหนันในบางท้องถิ่น ได้เข้าไปมีความสัมพันธ์กับขนบธรรมเนียมประเพณีชาวบ้าน เช่น ใช้เป็นเสื่อสำหรับนำติดตัวไปวัด ไปสุเหร่า หรือใช้สำหรับรองศพผู้ตายก่อนนำไปฝัง ใช้เสื่อสำหรับพิธีแต่งงานของบ่าวสาว โดยเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะช่วยกันไปตัดใบลำเจียก และจะช่วยกันสานเสื่อไว้สำหรับใช้ในงานแต่งงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการสานเสื่อนั้น ทำสืบต่อกันมาช้านาน เพราะในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง กล่าวถึงเรื่องราวของเสื่อลำเจียก หรือเสื่อปาหนันไว้
เตยปาหนัน เป็นพืชที่อยูในพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าชายเลน ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร ใบมีหนาม นางละมุล หลีดี ประธานกลุ่มพัฒนาหัตถกรรมบ้านวังหิน ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการจักสานใบเตยปาหนันมาจากมารดา ครั้งแรกที่ทำได้จักสานเป็นกระสอบ เพื่อใช้ในการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการทำนา และใส่ข้าวสารใช้ในครัวเรือน หลังจากนั้นเมื่อว่างจากการทำนา เห็นว่าต้นเตยปาหนันซึ่งขึ้นอยู่ธรรมชาติ มีจำนวนมาก จึงได้ตัดมาจักสาน และพัฒนารูปแบบเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ของครอบครัว
  
เนื่องจากใบเตยปาหนันมีความเหนียวกว่าเตยชนิดอื่น ๆ เช่น เสื่อปูนั่ง หมวก หมอน หมุกยา หมุกใส่ของใช้ต่าง ๆ เมื่อนำไปจำหน่ายในงานต่าง ๆ ผู้คนสนใจให้การยอมรับ มีการสั่งทำเป็นจำนวนมาก จึงได้ถ่ายทอดให้เพื่อนบ้าน แม่บ้านที่ว่างจากการทำสวนได้หัดทำและรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อแบ่งงานกันทำและส่งให้ลูกค้าได้ทัน สร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มเป็นอย่างดี เป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านในหมู่บ้าน


จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
  เป็นงานฝีมือ หัตถกรรมท้องถิ่นที่มีความงามและมีศิลปะที่เกิดจากการผสมกลมกลืนของรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายเป็นอย่างดี มีความละเอียดและปราณีต
  ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ทั้งด้านรูปแบบ สีสัน ลวดลายในการจักสาน
  ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย
  ใช้วัสดุในท้องถิ่นในการจักสาน สะท้อนให้เห็นคตินิยมของท้องถิ่น ลักษณะวัฒนธรรมการประกอบอาชีพ การดำรงชีพ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น
งานฝีมือ หัตถกรรมท้องถิ่นที่มีความงามและมีศิลปะที่เกิดจากการผสมกลมกลืน ของรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายเป็นอย่างดี มีความละเอียดและประณีต

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่:
นางสาวจันทร์เพ็ญ ปูเงิน
ที่อยู่ : 90/2 ม.3 ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง
โทรศัพท์ 081-777-5557 หรือ 075-291-950

******************************************
ติดตามข้อมูล SME เกษตร ธ.ก.ส. เพิ่มเติมได้ที่
เฟสบุคแฟนเพจ  “SMAEs CLUB”  URL: https://m.facebook.com/smaesbaac/
เว็บไซต์ URL: https://smaesclub.com/

ความคิดเห็น