เพชรดำค้าปลาร้า ปลาร้าอีสานเมืองน้ำดำโกอินเตอร์




เพชรดำค้าปลาร้า ปลาร้ารสแซ่บระดับร้อยล้าน เพชรดำค้าปลาร้า ปลาร้าชื่อดังที่ผ่านการสั่งสมรสชาติ มาจากรุ่นสู่รุ่น จากรุ่นตายายมาสู่รุ่นพ่อแม่ และส่งต่อถึงรุ่นหลานในปัจจุบัน เริ่มต้นมาจากรุ่นตายาย ส่งต่อมายังรุ่นคุณแม่ที่เป็นคนทำปลาร้า ส่วนคุณพ่อได้เข้ามาขับแท็กซี่ในกรุงเทพก็นำปลาร้าติดมาให้พ่อค้าแม่ค้าชิมด้วย ทำให้เริ่มมีคนสั่งปลาร้ามาจำหน่ายทั้งในตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ดาวคะนอง และขยายไปเรื่อย ๆ จากเดิมคุณแม่ที่ทำอยู่คนเดียวก็เริ่มจ้างแรงงานในพื้นที่ จากทำเองในครัวเรือนก็เริ่มก่อรูปก่อร่างเป็นโรงงานระดับ 2
ในปี พ.ศ. 2536 ส่งปลาร้าเข้าไปจำหน่ายในกรุงเทพ และกระจายไปทั่วเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน โดยเริ่มพัฒนาเพชรดำค้าปลาร้าให้ได้มาตรฐานมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการทำน้ำปลาร้าต้มสุกบรรจุขวดสูตรฝาสีขาว โดยผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน อย. พัฒนาเป็นสูตรฝาสีเหลืองที่มีกลิ่นปลาร้าหอมตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า ปลาร้าโหน่ง



พ.ศ. 2556 ได้ก่อสร้างโรงงาน เป็นโรงงานระบบปิดที่ถูกสุขลักษณะและมีระบบการผลิตที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GMP โดยได้รับการสนับสนุนเงินวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประเภททุนสนับสนุนการวิจัยขยายผลสู่การปฏิบัติและพัฒนาต่อยอดงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2555 ร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ในการคิดค้นเรื่องประโยชน์จากตะกอนเนื้อปลาร้าพัฒนาเป็นปลาร้า 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ปลาร้าก้อน น้ำปลาร้าเข้มข้น ปลาร้าครีม และ    ปลาร้าผง
พ.ศ. 2557 ได้จดทะเบียนเป็นเพชรดำ ฟูดส์และมีผลิตภัณฑ์ใหม่คือ น้ำปลาร้าต้มสุกสูตรฝาสีแดงที่ปรุงสำเร็จพร้อมทาน นอกจากนี้ ก็มีปลาร้าผงและ ปลาร้าก้อน ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบการผลิตมาจากภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้วิจัยคิดค้นพัฒนาปลาร้าก้อนและปลาร้าผง


ปัจจุบันมีปลาร้าก้อนและปลาร้าผงจำหน่าย ลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อไปฝากหรือซื้อเพื่อพกพานำไปต่างประเทศ และปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาสูตรปลาร้าผงและปลาร้าก้อนให้มีรสชาติหลากหลายมากยิ่งขึ้น
สำหรับเหตุผลการทำปลาร้าก้อนก็เนื่องมาจาก ปลาร้าเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยทุกภาค รวมถึงคนไทยในต่างแดน แต่การหาปลาร้าในต่างแดนรับประทานเป็นเรื่องยาก เพราะปัญหาด้านการขนส่ง จึงมีการวิจัยคิดค้นจนกระทั่งกลายเป็นปลาร้าก้อน ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์ให้คนต่างแดนได้มีปลาร้ารับประทานแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับปลาร้าอีกด้วย เพราะซื้อง่าย พกง่าย และปรุงง่ายนั่นเอง
นอกจากนี้ ในด้านการสาธารณสุข  โรงงานได้รับการตรวจสอบโดยการสุ่มตรวจจากกระทรวงสาธารณสุขแล้วเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา และโดยเจ้าของโรงงานเพชรดำค้าปลาร้า  คุณพิไรรัตน์ บริหาร  ยืนยันว่าได้รับซื้อวัตถุดิบ เป็นปลาทะเลสด ที่ผ่านการทำความสะอาดหมักเกลือแล้ว แล้วนำมาหมักต่อใส่เกลือ ข้าวคั่ว ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ส่วนหนึ่งขายเป็นปลาร้าสด และส่วนหนึ่งนำไปผลิตน้ำปลาร้า

ซึ่งผลการตรวจสอบโรงงานดังกล่าว พบกระบวนการผลิตเป็นโรงงานแบบปิด ได้รับมาตรฐานอาหารและยา หรือ อย. ขณะที่อุปกรณ์ทุกอย่างทำจากสแตนเลส เริ่มตั้งแต่รับน้ำต้มปลาร้าแล้วนำมาต้มอีกเป็นรอบที่ 2 ในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เดือดนาน 15 นาที จากนั้นไปพักเย็นอีก 1 วัน แล้วเข้ากระบวนการบรรจุด้วยพนักงานที่ถูกสุขลักษณะทุกอย่าง ทั้งการแต่งตัวที่ต้องสวมหมวก รองเท้าบู๊ท ชุดคลุมปลอดเชื้อ ล้างมือ เท้า ก่อนเข้าโรงงาน ส่งขายทั่วประเทศ

คุณพิไรรัตน์ บริหาร  ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผลิตภัณฑ์จากปลาร้าเหล่านี้ ผ่านความร้อนระหว่างกระบวนการผลิตเป็นระยะเวลาเพียงพอต่อการฆ่าพยาธิใบไม้ตับ การทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ มีการตรวจวัดจุลินทรีย์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนปลาร้าและน้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการส่งเสริมกระบวนการผลิตในรูปแบบของภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยโรงงานเพชรดำค้าปลาร้า จ.กาฬสินธุ์ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเริ่มผลิตปลาร้าก้อนและปลาร้าผงเพื่อจำหน่ายในประเทศ และจะพัฒนาเพื่อส่งออกต่อไป"

โรงงานเพรชดำค้าปลาร้า  ผู้ผลิตปลาร้าตรา “เพรชดำ” และปลาร้า “แม่บุญล้ำ”และผลิตภัณฑ์ในไลน์การผลิตอื่นๆ นับเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่โครงการ “ปั้นดาว” ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. อีกด้วย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งซื้อสินค้าได้ที่
นายวีระพล ศรีรักษ์
92 ม.4 ต.เสนางคนิคม อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ  โทรศัพท์ : 0894248283
โรงงานเพชรดำค้าปลาร้า
นางพิไรรัตน์ บริหาร 
240 หมู่5 ต.ห้วยโพธิ์ อ. เมือง กาฬสินธุ์ 46000
โทรศัพท์ 0849564924, 043122063
อีเมล์ :pirairut.borihan@gmail.com

******************************************
ติดตามข้อมูล SME เกษตร ธ.ก.ส. เพิ่มเติมได้ที่
เฟสบุคแฟนเพจ  “SMAEs CLUB”  URL: https://m.facebook.com/smaesbaac/   
เว็บไซต์ URL: https://smaesclub.com/

ความคิดเห็น